Archive for กุมภาพันธ์, 2014

Bank Run – ภาวะลูกค้าแห่กันไปถอนเงินออกจากธนาคาร


การที่คนแห่ถอนเงินออกจากธนาคารใดธนาคารหนึ่ง (Bank run) สาเหตุหลักก็คือ ลูกค้าขาดความเชื่อมั่นที่จะนำเงินไปฝากธนาคารนั้น ไม่ว่าจะด้วยการที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของธนาคารที่ไม่โปร่งใส (Moral Hazard), การประพฤติโดยมิชอบของผู้บริหารธนาคาร (Agency Problem), การเล็งเห็นถึงความเสี่ยงจากการฝากเงินที่ธนาคารนั้นๆไม่คุ้นค่ากับผลตอบแทนที่จะได้รับ (High risk, high returns) หรือเหตุผลอะไรก็ตามแต่ โดยเมื่อเริ่มต้นอาจเป็นเพียงกลุ่มลูกค้ากลุ่มเล็กๆซึ่งอาจไม่มีผลกระทบต่อธนาคารมากนัก

แต่หากความวิตกเหล่านี้ลุกลามไปเรื่อยๆ ลูกค้าก็จะแห่มาถอนเงินออกจากธนาคารกันมากขึ้นๆ จนกระทั่งสินทรัพย์สภาพคล่องสูง (หลักๆคือเงินสด) ลดลงจนหมดธนาคาร หากยังไม่สามารถหยุดยั้งความวิตกของลูกค้าที่แห่กันมาถอนเงินออกจากธนาคารได้ ธนาคารก็ต้องพยายามหาเงินสดมาทดแทนเพื่อรักษาสภาพคล่องให้ได้ในที่สุด

ในระยะสั้น ธนาคารจะใช้วิธีการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารเพื่อรักษาสภาพคล่องที่อัตราคอกเบี้ยให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank rate) (มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 วัน (Overnight Rate) ถึง 6 เดือน) ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก

ในระยะยาว ธนาคารต้องดึงลูกค้าและความเชื่อมั่นของลูกค้ากลับมาให้ได้ โดยอาจจะเป็นการรับประกันเงินฝาก (Deposit insurance) เพื่อลดแรงจูงใจของลูกค้าในการถอนเงิน, การเชิญชวนให้มาฝากเงินโดยให้ดอกเบี้ยที่สูงกว่าธนาคารอื่น, การชี้แจงของผู้บริหารเพื่อให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่น การกระทำของผู้บริหารธนาคารต้องมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้

แต่หากวิธีการข้างต้นไม่ได้ผล ธนาคารอาจต้องขายสินทรัพย์สภาพคล่องต่ำในราคาที่ขาดทุนเพื่อหาเงินสดเข้ามาหมุนเวียนภายในธนาคาร, หรือวิธีสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นก็คือ ธนาคารที่มีปัญหานั้นกู้เงินจากธนาคารกลางของประเทศในฐานะแหล่งเงินกู้แหล่งสุดท้าย (Lender of the last resort) ไม่เช่นนั้น ธนาคารก็จะล้มลายไป

และหากธนาคารใดล้มละลายไป จะส่งผลกระทบไปยังธนาคารอื่นๆเป็นทอดๆไปในฐานะเจ้าหนี้/ลูกหนี้

———————————————————————————–

เรียบเรียงจากความรู้ส่วนตัวอันน้อยนิด, ข้อมูลจากธนาคารกลางแห่งประเทศไทย และ ข้อมูลจาก Wikipedia
http://www2.bot.or.th/statistics/Download/FM_RT_001_TH.PDF
http://en.wikipedia.org/wiki/Bank_run
http://en.wikipedia.org/wiki/Interbank_lending_market